ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลจากงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Conference on Materials Research and Innovation ครั้งที่ 3 (ICMARI 2021)

เผยแพร่เมื่อ: 20 ธ.ค. 2564 ข่าวประชาสัมพันธ์/ข่าวทั่วไป



           คณะวิทยาศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 จากงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ นานาชาติ International Conference on Materials Research and Innovation ครั้งที่ 3 (ICMARI 2021)  ได้แก่  นางสาวอรนุช สมสีมี  นักศึกษาระดับปริญญาเอก ศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เคมี) สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษาได้แก่ ผศ.ดร.โฉมศรี ศิริวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

           งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ICMARI 2021 นี้ ถูกจัดขึ้นเป็นปีที่สาม โดยอยู่ภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ด้านการวิจัยและนวัตกรรมทางด้านวัสดุศาสตร์ให้แก่ นิสิตนักศึกษา คณาจารย์ บริษัท องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัยและนวัตกรรมด้านวัสดุศาสตร์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งและความร่วมมือระหว่างนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งภายในงานมีการจัดงานประชุมนำเสนอผลงานแบบปากเปล่าใน 3 หัวเรื่อง ได้แก่ Rubbers and Polymeric Materials, Bio- and Circular-materials และ Special Advanced Materials ในวันที่ 15-16 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ หรือนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงการนำเสนอแบบ Series seminar ในหัวเรื่อง UN Sustainable Development Goals (SDGs) in the field of Materials Research and Innovation ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ในวันที่ 17 ธันวาคม 2564 โดยได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านทรัพยากรธรรมชาติเขตร้อน ภายใต้โครงการ Kasetsart University Reinventing University Program 2021, สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน), บริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ซายน์ สเปค จำกัด, บริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด, บริษัท ฮอริบา (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เอสซีเอส อินสทรูเมนท์ จำกัด, บริษัท ซีจี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด, บริษัท เจริญทัศน์ จำกัด, บริษัท เอสทีเจ อินเตอร์เทรด จำกัด, บริษัท เซิร์นเทค จำกัด และบริษัท เทรเชอร์ โปรดักส์ จำกัด

                จากการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้ ก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายวิจัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และนักวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เกิดผลกระทบ (Impact) ต่อวงการวิชาการเป็นอย่างสูงโดยเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาการและเทคโนโลยีของวัสดุศาสตร์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมของภูมิภาคนี้และในที่สุดก็จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันต่อไป ถือได้ว่าเป็นการสนับสนุนนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเฉพาะนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศต่อไปในอีก 20 ปีข้างหน้าอีกด้วย