เผยแพร่เมื่อ: 16 ม.ค. 2562 ข่าวนักศึกษา
ผลการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 (NSC 2019) รอบคัดเลือกภาคอีสาน
มีนักศึกษา นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผ่านการคัดเลือก 19 ทีม!
วานนี้ (15 มกราคม 2562) เวลา 08.30 น. โครงการ "การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest : NSC)" ที่จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้จัดพิธีมอบทุนสนับสนุนโครงการ NSC ภาคอีสาน ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น) มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีนักศึกษา ที่ผ่านการพิจารณารอบคัดเลือกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้รับทุนสนับสนุนการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 โครงการละ 3,000 บาท จำนวน 19 ทีม ดังนี้
หมวดโปรแกรมเพื่อความบันเทิงจำนวน 2 โครงการ ได้แก่
1. เกมตำนานผีปอบ
อาจารย์ที่ปรึกษา อ.ชิตสุธา สุ่มเล็ก
สมาชิกในทีมคือ นางสาวธนพร ฉัตรมงคลชาติ, นางสาวโสภิดา เลาะไธสง
2.ผจญภัยโลกคู่ขนาน
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.จักรชัย โสอินทร์
สมาชิกในทีมคือ นายเนติพงษ์ กัญญะลา, นายวสวัตติ์ บึงกาญจนา
หมวดโปรแกรมเพื่อสุขภาพ การแพทย์ คนพิการ และผู้สูงอายุจำนวน 2 โครงการ ได้แก่
1.การพัฒนาเกมแอปพลิเคชันเพื่อรักษาภาวะตาขี้เกียจ
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.อุรฉัตร โคแก้ว
สมาชิกในทีมคือ นางสาวชรัญดา สารปัญญา, นางสาวชุติกาญจน์ สุเพ็ญ
2.ระบบจองเตียงหออภิบาลผู้ป่วยศัลยกรรมและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.พุธษดี ศิริแสงตระกูล
สมาชิกในทีมคือ นางสาวกาญจนา พรหมภักดี, นางสาวศิริกาญจน์ พลคำ
หมวดโปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 5 โครงการ ได้แก่
1.ฟาร์มเลี้ยงกุ้งอัตโนมัติ
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.จักรชัย โสอินทร์
สมาชิกในทีมคือ นายธนวิชญ์ อาจหาญ, นางสาวสิริพร จิรภาสสกุลชัย
2.เครื่องให้อาหารสุกรอัตโนมัติ
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.จักรชัย โสอินทร์
สมาชิกในทีมคือ นางสาวกฤษณี แซ่ฟอง, นางสาวจารุชา อ๊อสปอนพันธุ์
3.การปรับปรุงอัลกอริทึมในการอำพรางข้อมูล
อาจารย์ที่ปรึกษา อ.ชิตสุธา สุ่มเล็ก
สมาชิกในทีมคือ นายชิงชนะ พลชา
4.ระบบบริหารจัดการข้อมูลโคนมสำหรับสหกรณ์โคนมขอนแก่น บนเว็บเรสปอนซิฟ
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.สายยัญ สายยศ
สมาชิกในทีมคือ นางสาวธาราทิพย์ สมศรี, นางสาวกชามาศ ชอบเสียง
5.ระบบรดน้ำโรงเห็ดนางฟ้าผ่านมือถือ
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.วรารัตน์ สงฆ์แป้น
สมาชิกในทีมคือ นางสาวเสาวลักษณ์ แช่มสุขี, นางสาววรลักษณ์ พงคเชนทร์
หมวดโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานบนเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (Mobile Application)
จำนวน 9 โครงการ ได้แก่
1.แอปพลิเคชันตรวจสอบเครื่องสำอางผิดกฎหมายด้วยเทคนิควิธีตรวจจับวัตถุ
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.วรารัตน์ สงฆ์แป้น
สมาชิกในทีมคือ นายรัฐวิทย์ จรบุรี, นางสาวปรียาภรณ์ มูลทา
2.แอปพลิเคชันการจดจำลายผ้าไหมอีสานบนพื้นฐานวิธีการตรวจจับวัตถุ
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.วรารัตน์ สงฆ์แป้น
สมาชิกในทีมคือนางสาวตติญา นุ่นขาว, นายภูวิศ ชนะพาล
3.TheGag: แอปพลิเคชันสำหรับนักอ่านและนักเขียนการ์ตูน
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.ศาสตรา วงศ์ธนวสุ
สมาชิกในทีมคือ นายธนดล รัศมีเพ็ญ
4.แอปพลิเคชันสอนการแต่งหน้าเสมือนจริง
อาจารย์ที่ปรึกษา อ.มัลลิกา วัฒนะ
สมาชิกในทีมคือ นางสาวอัจฉริยา ชาเคน, นายอนุสิษฐ โพธิ์เย็น
5.แอปพลิเคชัน และเว็บแอปพลิเคชันแปลข้อความภาษาไทยเป็นวีดีโอประโยคภาษามือ
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.พุธษดี ศิริแสงตระกูล
สมาชิกในทีมคือ นายกษิดิศ กฤษณสรุวรรณ, นายพงศ์ภีระ ลีเกษม
6.ลองเบิ่งดู๋
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา
สมาชิกในทีมคือ นายวสิษฐพล นุคิด, นายอธิสิต ทองใบ
7.แอพลิเคชั่นควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยการเคลื่อนไหว
อาจารย์ที่ปรึกษา อ.ชิตสุธา สุ่มเล็ก
สมาชิกในทีมคือ นายอัครเดช แก้วมณีโชติ, นางสาวณิชกานต์ ปัตลา
8.แอปพลิเคชัน AR นิทานก่อนนอนบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.วรารัตน์ สงฆ์แป้น
สมาชิกในทีมคือ นางสาวพนิดา แพงมา, นางสาวธันย์ชนก คุณวัฒนบัณฑิต
9.แอปพลิเคชั่นบริหารใบหน้าบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.วรารัตน์ สงฆ์แป้น
สมาชิกในทีมคือ นางสาวกาญจนา มูลอินทร์, นางสาวสิริญญา จำปาอ่อน
หมวดโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับสื่อสารระหว่างสรรพสิ่ง (Internet of Things)จำนวน 1 โครงการ ได้แก่
1.โรงเรือนสตรอว์เบอร์รีอัตโนมัติ
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.จักรชัย โสอินทร์
สมาชิกในทีมคือ นายพีรดนย์ วิภูษิตสมบูรณ์, นายภักดี พิมเก
โครงการ "การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest : NSC)" เป็นเวทีประดับประเทศ จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ที่เปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์และนำเอาความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยจะได้รับการสนับสนุนเงินทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจและกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทำการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้มีการประกวดแข่งขันชิงเงินรางวัลในระดับประเทศ อันจะเป็นการสร้างเวทีสำหรับเยาวชนและผู้ที่สนใจในการพัฒนาความรู้สู่การเป็นนักวิจัยระดับอาชีพต่อไป ซึ่งผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภทจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นอกจากนั้น เนคเทค ยังได้ร่วมกับ SIPA และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ส่งผลงานซอฟต์แวร์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเข้าร่วมการประกวดในงาน Asia Pacific ICT Awards (APICTA) ในประเภทนักเรียน และนิสิต นักศึกษา ซึ่งงาน APICTA นี้ เป็นการประกวดผลงานด้านซอฟต์แวร์ในด้านต่างๆ สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมด้านไอซีทีของประเทศในภูมิภาค เปิดโอกาสให้มีการนำเสนอผลงานซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ และศักยภาพทางธุรกิจและการตลาดจากผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ ภาคการศึกษา และนักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยประเทศในภูมิภาคผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ โดยประเทศไทยสามารถคว้ารางวัลจากเวทีดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ ปี