เผยแพร่เมื่อ: 7 มิ.ย. 2561 ข่าวประชาสัมพันธ์/ข่าวทั่วไป
สถานการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจมีความครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ไม่ซ้ำซ้อนและตรงความต้องการของผู้ใช้ รวมทั้งข้อมูลในระดับพื้นที่ย่อย เป็นสิ่งจำเป็นในการวางแผนพัฒนาประเทศโดยเฉพาะในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ดังนั้นการศึกษาสำรวจข้อมูลการใช้น้ำในปัจจุบันจึงมีความสำคัญมาก แต่เนื่องจากระบบสถิติของประเทศไทยเป็นระบบกระจายงานจึงอาจทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลหรือความไม่ครบถ้วนของข้อมูลในเชิงพื้นที่ย่อย เช่น การใช้น้ำอุปโภคบริโภคระดับครัวเรือน สถานประกอบการขนาดเล็ก การใช้น้ำเพื่อการเกษตรของเกษตรกร การใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรมเป็นต้น
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับ สถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำใต้ดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสาขาวิชาสถิติคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการ “ระบบการจัดเก็บข้อมูล โครงสร้างพื้นฐานระดับพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนในลุ่มน้ำทั่วประเทศ จำนวน 25 ลุ่มน้ำ” (โครงการระยะที่ 1)ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวัน ที่ 7-8 มิถุนายน 2561 ณ ห้อง 8103 อาคาร SC. 08 เวลา 09.00-16.30 น. มี ผศ.ดร. กุลยา วัฒนากูล หัวหน้าสาขาวิชาสถิติ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการจาก จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสุพรรณบุรี และกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย ตัวแทนจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น คณาจารย์ ทีมวิทยากร รวมกว่า 150 คน โดยมี รศ.ดร. วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าโครงการฯเป็นประธานกล่าวต้อนรับและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว ต่อมา รศ.ดร.สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถิติ ได้บรรยายในหัวข้อ “การกำหนดพื้นที่การสำรวจล่วงหน้า” “บทบาท หน้าที่และคุณสมบัติผู้ปฏิบัติงานการสำรวจล่วงหน้า” “เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล” และ”ข้อมูลที่จัดเก็บตามแบบ สน.1, สน.2-1 และ สน.2-2”ต่อมา อ.พีระพงษ์ ภัทรพันธุ์ธัย และ ดร.วรรณพร จันโทภาส ได้บรรยาย “ภาพรวมของแอพพลิเคชั่นใน Tablet, เรียนรู้การใช้งานแอพพลิเคชั่นใน Tablet และ “แบบบันทึกการนับจด สน.1” ซึ่งในการดำเนินโครงการนี้อยู่ในขั้นตอนการสำรวจล่วงหน้า (pilot survey)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการบริหารจัดการงานเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนามด้วยเครื่อง Tablet การทดสอบการบันทึกข้อมูล การทดสอบระบบการส่งและรับข้อมูลต่างๆด้วย Cloud server การประมวลผลว่าสามารถใช้ในการปฎิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลได้ในทุกรูปแบบพื้นที่ รวมทั้งปัญหา/อุปสรรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นและนำข้อมูลที่ได้จากการปฎิบัติงานไปปรับปรุงแก้ไขและหาแนวทางพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพสำหรับใช้ในการรวบรวมข้อมูลจริงต่อไป
ชมภาพทั้งหมดที่นี่