"อุปราคา จันทราสีโลหิต" ความอัศจรรย์แรกในปี 2561

เผยแพร่เมื่อ: 1 ก.พ. 2561 ข่าวประชาสัมพันธ์/ข่าวทั่วไป



         คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยภาควิชาฟิสิกส์  ร่วมกับ  ชุมนุมดาราศาสตร์ มข. จัดกิจกรรม ปรากฎการณ์ "อุปราคา จันทราสีโลหิต" ความอัศจรรย์แรกในปี 2561 ซึ่งเกิดขึ้นในรอบ 150 ปี เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 ณ บริเวณลานด้านข้างคอมเพล๊ค ฝั่งทางทิศตะวันออก เวลา 18.00 น.-22.00 น.  มีนักเรียน  นักศึกษา  ประชาชนทั่วไป  ให้ความสนใจรับชม "อุปราคา จันทราสีโลหิต"  เป็นจำนวนมาก มี อ.ดร. ไชยพงษ์  เรืองสุวรรณ และผศ. ดร. พัฒนา ภู่วนิชย์  อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ พร้อมด้วยนักศึกษาชุมนุมดาราศาสตร์ มข.  ได้นำกล้องดูดาวมาให้บริการประชาชนจำนวน 5 ตัว ให้ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าว และ บรรยากาศเมื่อคืนนี้ มีอากาศเย็นลมแรง มีเมฆบดบังดวงจันทร์แต่ก็จะโผล่พ้นก้อนเป็นระยะในช่วงเวลา 18.00-19.30 และหลังจากเวลา 19.30  ท้องฟ้าเปิดทำให้เห็นปรากฏการณ์  "อุปราคา จันทราสีโลหิต" ชัดเจนและเต็มดวง   ปรากฎการณ์ดังกล่าว เป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่เกิดในช่วงดวงจันทร์โคจรอยู่ใกล้โลก ช่วงกึ่งกลางคราสเต็มดวง มีระยะห่างจากโลกเพียง 360,191 กิโลเมตร ซึ่งใกล้กว่าระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกถึงดวงจันทร์ (ประมาณ 384,400 กิโลเมตร) จะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงสีแดงอิฐมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย นอกจากนี้ ยังตรงกับจันทร์เพ็ญครั้งที่ 2 ของเดือนอีกด้วย หรือที่นิยมเรียกกันว่าบลูมูน (Blue Moon) ซึ่งปกติดวงจันทร์เต็มดวงจะเกิดขึ้นเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น เดือนไหนที่มีดวงจันทร์เต็มดวง 2 ครั้ง จะเรียกดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองว่า "บลูมูน" ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก เป็นที่มาของสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า "Once in a blue moon" หมายถึง นานทีจะเกิดขึ้นสักครั้ง และดวงจันทร์ไม่ได้เป็นสีน้ำเงินแต่อย่างใด  ปรากฏการณ์นี้นักดาราศาสตร์สมัครเล่น นิยมเรียกว่า “ซูเปอร์บลูบลัดมูน” (Super blue blood moon) เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงช่วงที่ดวงจันทร์โคจรใกล้โลกและตรงจันทร์เพ็ญครั้งที่สองของเดือนนั่นเอง (ที่มาhttp://www.narit.or.th/index.php/pr-news/3490-narit-lunar-eclipse-2561-31-january)

 

ชมคลิปวีดีโอที่นี่  https://www.youtube.com/watch?v=ZaeOY4-CH0w