คณะวิทยาศาสตร์ มข. จัดกิจกรรม SCi Show & Share 2025 ยกระดับศักยภาพบุคลากรประเภทสนับสนุน สู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

วันที่ 8 พฤษภาคม 2568  เวลา  08.30 – 15.30 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรม “SCi Show & Share 2025” เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรประเภทสนับสนุน โดยเปิดพื้นที่ให้บุคลากรได้นำเสนอผลงานของตนเอง ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร พร้อมสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ ณ ห้องวิทยวิภาส 1 อาคารวิทยวิภาส มีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรประเภทสนับสนุน ร่วมกิจกรรมกว่า 80 คน

โดยมี ผศ. ดร.อังคณาบุญยืด คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มข. เป็นประธานกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดกิจกรรมว่า “กิจกรรม SCi Show & Share เป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้บุคลากรสายสนับสนุนได้แสดงศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยและนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ”

ในปีนี้ มีผลงานที่ส่งเข้าร่วมครอบคลุมทั้งประเภทผลงานเชิงพัฒนา ผลงานวิเคราะห์ ผลงานสังเคราะห์ และผลงานวิจัย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุนในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อพัฒนาระบบการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม รวม 15 ผลงานดังนี้

  1. การประชุมไร้กระดาษ : การขับเคลื่อนการประชุมสู่องค์กรดิจิทัลด้วยแนวคิด Paperless Meeting
    โดย นายธนากร โคธิเสน สังกัดงานบริกหารและธุรการ
  2. การพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียน โดย นางจรูญลักษณ์ ตรงดี สังกัด งานแผนยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. การพัฒนาระบบรายงานกองทุนสำรองเพื่อผลประโยชน์และสวัสดิการผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยขอนแก่น : สู่การบริหารจัดการแบบดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดย นางปารีณา พลชาย สังกัด งานคลังและพัสดุ
  4. การพัฒนาระบบรายงานผลความพึงพอใจผู้รับบริการในรูปแบบ Dashboard ด้วย Google Looker Studioโดย นางสาวกฤศญา สุวรรณจักร์ สังกัด งานแผนยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  5. การพัฒนาระบบสารสนเทศการจัดการสารเคมีและของเสียอันตราย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามมาตรฐานโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL) โดย นายวัฒนา สวดประโคน สังกัด งานวิจัยและบริการวิชาการ
  1. การรับหนังสือเอกสารด้วยระบบคำร้องออนไลน์ Request-Order โดย นางสาวปภัชญา พิระบัณ สังกัด สาขาวิชาสถิติ
  2. ผลการดําเนินงานมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย นางสาวสุภาพร เทียมวงศ์ สังกัด สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  3. ระบบการสืบค้นข้อมูลจำแนกวัสดุและครุภัณฑ์ด้วย Google Apps Script โดย นางสาวมาริษา มลอุทก งานคลังและพัสดุ
  4. ระบบบริหารงานส่งผลการศึกษา สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โดยนายธีระเดช ธนะภวา สังกัด สาขาวิชาคณิตศาสตร์

ผลงานวิเคราะห์ หรืองานสังเคราะห์ จำนวน 3 ผลงานได้แก่

  1. การวิเคราะห์งบประมาณรายรับ-รายจ่าย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย นางวิรัตน์ พรมหา หัวหน้างานคลังและพัสดุ
  2. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตรของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กรณีศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนางธีรนุช หาญโสภา สังกัด งานบริการการศึกษาและพัฒนานักศึกษา
  3. ผลวิเคราะห์ความต้องการกำลังคน (อัตรากำลังที่พึงมี) ตามภาระงานบุคลากรประเภทวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนางสาวอุไรรักษ์ หินทอง สังกัด งานแผนยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผลงานวิจัย จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่

  1. การผลิตสื่อวีดิทัศน์การใช้กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ฉบับภาษาอังกฤษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย นางบังอร ละเอียดออง สังกัดสาขาวิชาชีววิทยา
  2. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับการจัดสรรเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา กรณีศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย นางสุคนธ์ บุญจันทร์ งานแผนยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ : หัวหน้าโครงการ  นายธีระเดช ธนะภวา : ผู้ร่วมวิจัย
  3. ความแม่นยำและความเที่ยงตรงของวิธีวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในน้ำ จากอ่างเก็บน้ำที่เกิดยูโทรฟิเคชั่น นางสาวณัฐริกา เกตุแก้ว สังกัด สาขาวิชาเคมี

ต่อมาได้มีกิจกรรม  Flash Talk ที่เปิดโอกาสให้ผู้นำเสนอทั้ง 15 ผลงานได้นำเสนอแนวคิดและสาระสำคัญของผลงานภายในเวลา 5 นาที และในช่วงบ่ายได้มีกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในหัวข้อ “เตรียมบทความอย่างไรกับการตีพิมพ์ในวารสาร”  วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์เมศยา ธิติศักดิ์สกุล : บรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์ มข. รองศาสตราจารย์ปณัทพร เรืองเชิงชุม : บรรณาธิการวารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข. (MBA) พร้อมผู้ร่วมเสวนาที่มีประสบการณ์ในการส่งบทความตีพิมพ์ได้แก่ คุณสุภาพ ไชยยา หัวหน้างานรับเข้าและการตลาด (นักเทคโนโลยีสารสนเทศชำนาญการ) สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ  คุณสุคนธ์ บุญจันทร์ นักวิชาการแผนและสารสนเทศชำนาญการ  นายธีระเดช ธนะภวา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ  นางสาวบังอร ละเอียดออง นักวิชาการวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ และ นางสาวเพ็ญพักตร์ คำแก้ว นักวิชาการวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการเขียน เทคนิคและการส่งบทความเผยแพร่ผลงานในระดับวิชาการ

ภายหลังการเสวนา รศ. ดร.คัชรินทร์ ศิริวงศ์  รองคณบดีฝ่ายบริหาร ได้มอบรางวัลแก่ผู้ที่ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานดังนี้

1. รางวัลประเภท ผลงานเชิงพัฒนา

รางวัลชนะเลิศได้แก่ นายธีระเดช ธนะภวา

รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวสุภาพร เทียมวงศ์

รองชนเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวกฤศญา สุวรรณจักร์

2. รางวัลประเภท ผลงานวิเคราะห์หรืองานสังเคราะห์

รางวัลชนะเลิศได้แก่ นางธีรนุช หาญโสภา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางวิรัตน์ พรมหา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวอุไรรักษ์ หินทอง

3. รางวัลประเภท ผลงานวิจัย

รางวัลชนะเลิศได้แก่นางสุคนธ์ บุญจันทร์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวบังอร ละเอียดออง

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวณัฐริกา เกตุแก้ว

และ รางวัล Popular Vote  ได้แก่ นางธีรนุช หาญโสภา

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีให้บุคลากรประเภทสนับสนุนได้นำเสนอผลงานที่เกิดจากการพัฒนางาน สร้างนวัตกรรมการทำงานรูปแบบใหม่  เพิ่มคุณค่าของงานในตำแหน่งต่างๆ  สร้างเครือข่ายการทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ส่งเสริมบุคลากรประเภทสนับสนุน ได้มีการนำงานประจำที่เกิดปัญหา อุปสรรค  มาคิด แก้ปัญหาและพัฒนากระบวนการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพและลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้รับบริการมีพึงพอใจสูงสุด และได้เข้าใจถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนางานประจำ ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น อันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพอย่างมั่นคงและยั่งยืน