วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00-16.00 น. ผศ. ดร.ธนพงศ์ อินทระ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ ได้บรรยายพิเศษ ในรายวิชาการสอบวิชาสัมมนา ของสาขาวิชาสถิติเรื่อง“Artificial Intelligence in Medicine” ณ ห้องวิทยวิภาส 1 อาคารวิทยวิภาส มีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 พร้อมด้วยคณาจารย์ เข้าร่วมกว่า 80 คน ซึ่งเป็นการกล่าวถึงการพัฒนางานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อแก้ปัญหาพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดีที่เป็นปัญหาสำคัญของภาคอีสาน มี 2 Platform ได้แก่
- OV-RDT Platform สำหรับช่วยวิเคราะห์และรายงานผลการระบาดของโรคพยาธิใบไม้ในตับ สำหรับควบคุมคุณภาพของภาพถ่ายชุดตรวจและแปลผลชุดตรวจ รวมไปถึง Data Analytics Dashboard ที่รายงานผลการระบาดแบบ Realtime สำหรับการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที
- BiTNet เป็นระบบวิเคราะห์ความผิดปกติในช่องท้องส่วนบน เช่น โรคตับแข็ง ไขมันพอกตับ ด้วยภาพถ่ายอัลตราซาวน์ โดย BiTNet ถูกพัฒนาเป็น Web application เพื่อช่วยตรวจคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งเป็นระบบ AI แรกและระบบเดียวในโลกที่สามารถ วิเคราะห์ความผิดปกติในช่องท้องส่วนบนด้วยภาพถ่ายอัลตราซาวน์ได้
โดย 2 ระบบนี้ปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 6,000 คน และมีการคัดกรองผู้ป่วยแล้วกว่า 1 แสนราย และ 2 ระบบดังกล่าวได้รับรางวัลด้านสิ่งประดิษฐ์จากทั้ง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย อีกด้วย