ลูกจำปามอดินแดง คว้าเหรียญรางวัลจากการเข้าร่วมแข่งขัน แกว๊กแกว๊กเกมส์ (ATOM GAMES #29)

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29 แกว๊กแกว๊กเกมส์ (ATOM GAMES #29)  ระหว่างวันที่ 4-9 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  มีนักศึกษาและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 70 คน โดยมี คุณศุภลักษณ์ ทองปัน หัวหน้ากลุ่มภาระงานด้านพัฒนานักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้นำทีมนักกีฬาลูกจำปามอดินแดงเข้าร่วมการแข่งขัน

ผลการแข่งขันเหรียญรางวัลตามชนิดกีฬาต่าง ๆมีดังนี้

รางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง  จำนวน 2 เหรียญ ได้แก่

– การแข่งขันกรีฑา รายการวิ่ง 4×100 เมตร หญิง

– การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล ชาย

รางวัลรองชนะเลิศอันดับเหรียญเงิน จำนวน 4 เหรียญ ได้แก่

– การแข่งขันกรีฑา รายการวิ่ง 100 เมตร ชาย

– การแข่งขันวอลเลย์บอล หญิง

– การแข่งขันแบดมินตัน ประเภท ชายเดี่ยว

– การแข่งขันแบดมินตัน ประเภทคู่ผสม

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เหรียญทองแดง  จำนวน 4 เหรียญ ได้แก่

– การแข่งขันกรีฑา รายการวิ่ง 400 เมตร ชาย

– การแข่งขันกรีฑา รายการวิ่ง 400 เมตร หญิง

– การแข่งขันกรีฑา รายการวิ่ง 4×100 เมตร ชาย

– การแข่งขันบาสเกตบอล ชาย

ทั้งนี้ยังมีกีฬารายการอื่นๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้แก่

– การแข่งขันฟุตบอล ชาย (เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย)

– การแข่งขันแบดมินตัน หญิงเดี่ยว

– การแข่งขันบาสเกตบอล หญิง

– การแข่งขันกรีฑารายการวิ่ง 100 เมตร หญิง

– การแข่งกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (E-SPORT ) รายการ ROV

สรุปผลการแข่งขัน คะแนนรวมเป็น ลำดับที่ 2 จาก 12 สถาบันที่เข้าร่วมการแข่งขันคว้า 2 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน  4 เหรียญทองแดง รวม 10 เหรียญ คิดเป็น 38 คะแนน นอกจากการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังมีการแข่งขันประกวดนวัตกรรมทางวิชาการ  ภายใต้หัวข้อ “สุขภาพเเละความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อสังคมผู้สูงอายุ” โดยนักศึกษาผู้เข้าแข่งขันได้รับทั้งการอบรมบ่มเพาะองค์ความรู้เชิงนวัตกรรม และคำแนะนำจากทางคณะกรรมการผู้ตัดสินที่มีความสามารถเฉพาะด้านในหลากหลายแขนง เพื่อใช้ในการพัฒนานวัตกรรมและตนเองต่อไปในอนาคต

มหกรรมกีฬาดังกล่าว เป็นการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ และการประกวดนวัตกรรมวิชาการ นอกจากนี้ยังมีการใช้ทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นหมู่คณะและความคิดสร้างสรรค์ในการวางแผน ออกแบบการทำงานด้านต่าง ๆ  ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อีกทั้งยังสร้างเครือข่ายนิสิต นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นสมาชิกขององค์การนิสิต นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (กวส.) อันเป็นพื้นฐานต่อยอดสู่เครือข่ายการทำงานร่วมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่แข็งแรงในอนาคต

ขอขอบคุณภาพและข่าวจาก
สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  https://www.facebook.com/SC.SMO